Instruction | Article | Entertainment | Variety | Health | Life Style | Sport | News | Idea | Goods | So Good | Max Idea | Foods | ***รวบรวมเรื่องราวดีๆ ทั้งบทความ ข้อแนะนำ หรือแม้แต่ความบันเทิง ตลอดจนถึงเรื่องราวทางด้านการดูแลสุขภาพ หรือเรื่องเตือนภัย ข้อคิดดีๆ มีรวบรวมเอาไว้แบ่งปันให้กับทุกคนที่นี่***
May 22, 2008
พลับผลไม้แห่งสุขภาพ
นายวรวิทย์ ยี่สวัสดิ์ นักวิจัย 8 ว. สถานีวิจัยดอยปุย
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ทำวิจัยเรื่อง พลับ จากฝาดให้หวาน
บอกว่า พลับ (Diospyros kaki L.) เป็นไม้ผลกึ่งร้อน มีการปลูกมา
นานแล้วในประเทศไทย โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงราย จากการ
สอบถาม ทราบว่านำมาปลูกครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2471 พันธุ์ที่ปลูกทั้งหมดนำมาจากประเทศจีนในรูปของหน่อมีอยู่ 5-6
สายพันธุ์เป็นพลับฝาดทั้งหมด สายพันธุ์เหล่านี้ เป็นสายพันธุ์ที่
ให้ผลแล้ว สามารถรับประทานได้ ส่วนพืชอื่นที่อยู่ในสกุลเดียว
กันนี้ (Diospyros) มีอยู่มากมายซึ่งเป็นพืชท้องถิ่นของไทยเรา
มีอยู่มากกว่า 40 ชนิด เช่น มะพลับ รีบู ตับเต่า กล้วยเมี่ยง จันเขา
กล้วยฤาษี ตะโก มะเกลือ ฯลฯ การใช้ประโยชน์ก็แตกต่างกันไป
บางชนิดรับประทานไม่ได้ บางชนิดก็รับประทานได้แต่ไม่นิยม
รับประทานกัน พลับที่นำเข้ามาปลูกในตอนแรกนี้ได้กระจายไป
ปลูกตามแหล่งต่าง ๆ ของประเทศไทย แต่ก็ไม่แพร่หลายนัก
เนื่องจากมีข้อจำกัดของการขยายพันธุ์ เนื่องจากสมัยก่อน
การขยายพันธุ์ค่อนข้างยาก ต้องอาศัยการชำราก หรือต้นที่
เกิดจากแผลที่ราก (เกิดแผลที่รากแล้วจะเกิดต้นอ่อนบริเวณ
แผลขึ้นมาได้) และรสชาติที่ฝาดของผลพลับเอง
ต่อมาในปี พ.ศ.2512 มีการนำพลับพันธุ์ต่าง ๆ จากต่างประเทศเข้ามาปลูกทดสอบโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ที่สถานีวิจัยดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าพลับบางพันธุ์
สามารถที่จะเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ดี ในสภาพพื้น
ที่สูงของประเทศไทย และได้ส่งเสริมปลูกเป็นการค้าอยู่ใน
ปัจจุบัน พลับเป็นไม้ผลที่มีลักษณะที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่
สูงคือสามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ดีในสภาพ
ภูมิอากาศหนาวเย็นของพื้นที่สูงเป็นไม้ยืนต้นที่มีอายุยืน
ยาวจึงมีประโยชน์ในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในสภาพ
พื้นที่สูงเป็นพืชทนแล้งและให้ผลผลิตในฤดูฝน จึงประหยัด
ทรัพยากรน้ำเป็นพืชที่ใช้สารเคมีน้อยไม่ค่อยมีศัตรูรบกวน
เป็นพืชที่ดูแลรักษาง่ายเหมาะสำหรับพื้นที่สูงซึ่งเหมาะกับ
เกษตรกรชาวไทยภูเขา
พลับสามารถปลูกได้ดีในพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่
700 เมตรขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ พลับฝาดสามารถปลูก
ได้ตั้งแต่ 700 เมตรขึ้นไป แต่ถ้าเป็นพลับหวาน พื้นที่ปลูก
จะต้องมีความหนาวเย็นอย่างเพียงพอโดยพื้นที่
จะต้องมีความสูงตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป จึงจะสามารถ
ออกดอกติดผลได้ดี ในพื้นที่แห้งแล้งก็สามารถปลูกพลับได้
แต่ต้องมีเส้นทางคมนาคมขนส่งดีพอสมควร เนื่องจากฤดู
การเก็บเกี่ยวพลับตรงกับช่วงฤดูฝน และควรเป็นพื้นที่ที่แสง
แดดดีเพราะจะทำให้ผลมีสีสวย คุณภาพดี
พลับมีพันธุ์มากมาย ซึ่งจะมีลักษณะแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะ
เป็นเรื่องของขนาด รูปทรง รสชาติและสีผิวของผลตลอดจน
การใช้ประโยชน์ โดยในทางพืชสวนได้แบ่งพลับออกเป็น 2
ชนิด คือ พลับฝาด (Astringent) เนื้อผลจะมีรสชาติฝาด
ขณะที่ เนื้อผลแข็งกรอบ และพลับหวาน (Non-astringent) เนื้อผลจะมีรสชาติหวานขณะที่เนื้อผลแข็งกรอบแต่ถ้ารอจน
ผลสุกแดงนิ่มแล้ว ก็สามารถรับประทานสดได้โดยไม่ฝาดทั้ง
พลับฝาดและพลับหวาน ดอกพลับสามารถพัฒนาเป็นผลได้
โดยไม่ต้องได้รับการผสมเกสร (Parthenocarpic fruit)
ปัจจุบันการพัฒนาในด้านพันธุ์พลับได้ทำการปลูกทดสอบ
พลับพันธุ์ต่าง ๆ ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศทำให้ประเทศไทย
สามารถปลูกพลับพันธุ์ที่เป็นมาตรฐานของโลกได้อีกหลายพันธุ์
เช่น พลับหวานพันธุ์ Jiro พลับฝาดพันธุ์ Tone Wase และ
Hiratanenashi และกำลังขยายพันธุ์ออกสู่งานส่งเสริม นอก
จากนี้ ยังมีพลับที่ทำการปลูกทดสอบอยู่ คาดว่าจะสามารถส่ง
เสริมปลูกได้ในอนาคตอีก คือพันธุ์ Oku Gosho ซึ่งเป็นพลับ
หวาน ที่มีขนาดผลใหญ่ ดังนั้นพลับจึงเป็นพืชที่จะมีความ
สำคัญมากในอนาคตค่อนข้างแน่นอน.
ป้ายกำกับ:
News
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment