ตะคริว (ตะคิว)
ตะคริว คือ การที่มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้ ออย่างรุนแรงเป็นเวลานาน ซึ่งมักเป็นที่กล้ามเนื้ อแขนและขา โดยทั่วไปตะคริวมักเกิดไม่เกิ นสองนาที แต่อาจมีบางรายเกิดนานได้ถึงห้ านาทีหรือนานกว่านั้น ในบางรายอาจเกิดบ่อยจนทำให้เกิ ดความทุกข์ทรมานได้ โดยทั่วไปตะคริวมักเกิดกับนักกี ฬาที่เล่นกีฬาหนัก ผู้สูงอายุ ผู้หญิงมีครรภ์ ผู้ที่สูบบุหรี่จัด ผู้ป่วยโรคไตวายที่ได้รับการรั กษาด้วยเครื่องไตเทียมและเกิ ดในตอนกลางคืน แต่ก็อาจเกิดในคนอายุน้อยและเกิ ดได้ทุกเวลา อาการนี้ถึงแม้จะไม่ส่งผลเสียถึ งแก่ชีวิต แต่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ถ้ าเกิดระหว่างว่ายน้ำ หรือขับรถ อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
สาเหตุของการเกิดตะคริว
สาเหตุ การเกิดยังไม่ทราบแน่ชัด มีหลายทฤษฎี อาจเกิดจากการที่เอ็นและกล้ ามเนื้อไม่ได้มีการยืดตัวบ่อยๆ ทำให้มีการหดรั้ง เกร็งได้ง่ายเมื่อมีการใช้กล้ ามเนื้อนั้นมากเกินไป นอกจากนั้นยังอาจเกิดจากเซลล์ ประสาทและเส้นประสาทที่ควบคุ มการหดและคลายตัว ของกล้ามเนื้อทำงานผิดปกติไป และประการสุดท้ายอาจเกิ ดจากการไหลเวียนเลือดไปเลี้ ยงกล้ามเนื้อไม่ดีพอซึ่ง มักพบในคนที่มีโรคที่ทำให้ หลอดเลือดตีบ เช่น โรคเบาหวาน เป็นต้น ซึ่งอาจแจกแจงสาเหตุเป็นข้อ ๆ ดังต่อไปนี้
- ร่างกายที่ขาดน้ำและเกลือแร่ เช่น ท้องเสียอย่างรุนแรง ผู้ที่ทานยาขับปัสสาวะ ผู้ที่เสียเหงื่อมาก
- การออกกำลังกายมากเกินไปโดยไม่ ได้อบอุ่นร่างกายก่อน (warm-up)
- การอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานานๆ เช่น นักเขียนเป็นตะคริวที่มื อจากการจับปากกาเป็นเวลานาน
- กล้ามเนื้อมีเลือดมาเลี้ยงไม่ เพียงพอ เพราะกล้ามเนื้อต้องการออกซิ เจนจากเลือดมากขึ้นในขณะที่มี การออกกำลังกายหนัก
- ความผิดปกติของฮอร์โมนบางชนิด เช่น ต่อมธัยรอยด์ทำงานน้อย
วิธีแก้ตะคริว การดูแลตนเองเมื่อเป็นตะคริว การรักษาอาการตะคริว วิธีบรรเทาอาการทั่ว ๆ ไป
1. ยืดกล้ามเนื้อที่เป็นตะคริว เช่น ถ้าเป็นที่กล้ามเนื้อน่อง ให้เหยียดเข่าและกระดกปลายเท้ าขึ้นหรือยืนกดปลายเท้ากับพื้น งดเขาและโน้มตัวไปข้างหน้า
2. ทาและคลึงเบาๆ ด้วยยาทาแก้ปวดหลังการยืดกล้ ามเนื้อแล้ว
3. ประคบด้วยน้ำอุ่น โดยเฉพาะกล้ามเนื้อท้อง
4. ทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล
2. ทาและคลึงเบาๆ ด้วยยาทาแก้ปวดหลังการยืดกล้
3. ประคบด้วยน้ำอุ่น โดยเฉพาะกล้ามเนื้อท้อง
4. ทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล
ถ้า เป็นบ่อยมากควรหาสาเหตุ ตรวจเช็คว่ายาที่รับประทานอยู่ เป็นสาเหตุของตะคริวได้หรือไม่ อาจต้องตรวจหาโรคทางกายดังกล่ าวแล้ว อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปมักไม่ค่ อยพบสาเหตุ
การ รักษาที่ดีดังที่กล่าวไปแล้วคือ การยืดกล้ามเนื้อที่เกิดตะคริว นั้นให้คลายออกอย่างช้าๆ ตัวอย่างเช่น ถ้าเกิดตะคริวที่น่องจะทำให้เกิ ดเกร็งปลายเท้าจิกชี้ลงพื้นดิน ก็ให้ทำการดันปลายเท้าให้ กระดกขึ้นช้าๆ แต่ห้ามทำการกระตุก กระชากรุนแรงอย่างรวดเร็ว เพราะจะเจ็บปวดจนกล้ามเนื้อฉี กขาดได้ ในรายที่เป็นบ่อยๆ มีการใช้ยาบางอย่าง เช่น ควินีนและยาคลายกล้ามเนื้ อบางชนิด ซึ่งอาจใช้ในระยะสั้นๆ เช่น 4-6 สัปดาห์และดูการตอบสนอง แต่ผลการศึกษาถึงประโยชน์ยังไม่ ชัดเจนนักและอาจทำให้เกิดผลข้ างเคียงได้ใน บางราย เช่น เกล็ดเลือดต่ำ เม็ดเลือดขาวต่ำ ตับอักเสบ หูอื้อ เสียงดังในหู เวียนศีรษะได้ เป็นต้น ดังนั้นโดยทั่วไปมักไม่ค่อยได้ ใช้กันทั่วไป ถ้ามีอาการเกิดขึ้นบ่อยครั้งมาก ควรปรึกษาแพทย์
การป้องกัน ตะคริว
- มีการอบอุ่นร่างกายก่อนออกกำลัง
- ถ้าออกกำลังกายหนักควรดื่มน้
ำและเกลือแร่ทดแทนให้เพียงพอ - ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะตะคริวมักเกิดในผู้ที่มีร่
างกายอ่อนแอหรือคนที่ ขาดการออกกำลังกายที่ดีพอ - การฝึกการยืดกล้ามเนื้อบ่อยๆ อาจลดโอกาสการเกิดตะคริวได้ เช่น ที่น่องอาจทำได้โดยการกระดกเท้
าขึ้นลง หรือเอามือแตะปลายเท้าขณะเหยี ยดเข่า ปั่นจักรยานอยู่กับที่ หรือยืนบนส้นเท้าห่างผนัง 1 ฟุตแล้วเอามือทาบผนังและค่อยๆ เหยียดแขนออกเพื่อยืดกล้ามเนื้ อประมาณ 30 วินาทีแล้วทำใหม่ เป็นต้น - ระวังไม่ให้ร่างกายขาดเกลือแร่ โดยรับประทานผลไม้ที่มีเกลือแร่
สูง เช่น กล้วย - ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดน้
ำ - ไม่ควรอยู่ในท่าเดิมเป็
นเวลานานๆ - งดสูบบุหรี่
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
- สวมรองเท้าที่พอเหมาะและอาจใส่
ถุงเท้าตอนนอนเพื่อป้องกั นการเกร็งของเท้า - ผู้สูงอายุควรค่อยๆ ขยับแขนขาช้า ๆ และหลีกเลี่ยงอากาศเย็นมากๆ
- ในรายที่เป็นบ่อยๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ
และแก้ไข
No comments:
Post a Comment