May 8, 2008

มีสติ ก่อนเสียสติ สงบก่อนเป็นบ้า



มีสติ ก่อนเสียสติ สงบก่อนเป็นบ้า


การนั่งสมาธิ คือ การฝึกจิต การคิด คือ การฝึกใช้ปัญญา

ทั้งสมาธิและปัญญาจะขาดเสียมิได้ ซึ่งเป็นขั้นตอนแห่งการ

รู้เห็นธรรมะ ตามสภาวะที่เป็นอยู่ โดยวิธีการอย่างนี้ เราจึง

จะรู้เห็นธรรมะได้อย่างถูกต้องและได้รับผลจากการปฏิบัติ


ที่สำคัญคือจิตของเราจะไม่เป็นทุกข์วุ่นวาย กระเสือกกระสน
ดิ้นรน อย่างที่กำลังเป็นกันอยู่ นี่คือวิธีแก้โรคจิตทุกชนิด

ก่อนที่เราจะเสียสติและเป็นบ้าปัญหามันอยู่ที่ว่า เรามีจิตใจ
เป็นธรรมะ หมดกิเลส หมดทุกข์ หมดตัณหา ราคะ ได้
หรือไม่
? นี่คือปัญหาสุดยอดที่ไม่มีใครรู้กับเราได้


บางทีเขาว่าเรามีปัญญารู้แจ้งอย่างทะลุปรุโปร่งในพุทธธรรม
แต่เราอาจจะโง่ที่สุดในเรื่องของพุทธธรรมก็ได้ ถ้าเรายังไม่
หมดกิเลสตัณหา
เราเท่านั้นที่รู้ดีกว่าคนอื่น


ดังนั้นอย่าเพิ่งเชื่อคนอื่นที่เขายกย่องสรรเสริญเรา ถ้าเรา
จะเอาดีทางความคิด โดยไม่มีปัญญา ความรู้แจ้ง เรา
จะเป็นโมฆะทันที ดังนั้นทุกคนจะต้องมองดูตัวเอง และ
หาทางหลุดรอดให้ได้
ถ้าท่านเบื่อโลก จงเบื่อให้ถูกวิธี
ซึ่งวิธีเบื่อโลกต้องมองให้เห็นโทษของการเกิด แก่ เจ็บ
ตาย ความทุกข์ทรมานทั้งกายใจ แล้วจึงหาหนทางหลุด
รอดไปจากสิ่งเหล่านั้น จงอย่ากำหนัดในโลก อย่าเกลียด
โลก แต่จงสร้างความดีไว้แก่โลก ด้วยการบริจาคทรัพย์
์สิ่งของ กำลังกาย และสติปัญญา ให้แก่โลก เท่าที่จะ
ทำได้ โดยไม่ไปเป็นทุกข์..
ถ้าท่านยังไม่เบื่อโลก ก็จง
อยู่ในโลก แต่อย่าหลงโลก อย่าทำลายโลก อย่าคดโกง..
และเมื่อท่านจะตายไปจากโลก ก็จงอย่าห่วงโลก อย่าเสีย
ใจที่ต้องจากมันไป.


จงเบื่อ โดยฝึกจิตให้ถึงจริง


เรื่องการปฏิบัติธรรมนี้ เป็นเรื่องของการฝึกจิตใจ ให้มีกำลัง
พลัง เมื่อจิตมีกำลัง พลัง จิตก็จะเฉียบไวอย่างมหาศาล

จนจิตนั้นสามารถจะเอาชนะความทุกข์ได้ ในการที่จะหมด

ทุกข์ได้นั้น จิตจะต้องไม่เกาะเกี่ยวอยู่กับสิ่งน่ารักและน่าเกลียด

โดยการมองเห็นโทษของสิ่งเหล่านี้ เมื่อมองเห็นโทษ มันจึง

เบื่อ มันเบื่อทั้งสิ่งที่น่ารักและน่าเกลียด สภาวะจิตอย่างนี้ย่อม

จะมีได้เฉพาะกับผู้ที่สามารถพัฒนาจิตของตัวเองได้สูงอย่าง

เพียงพอแล้ว ในส่วนลึกภายในจิตของคนสามัญ จะไม่มีสภาวะ


อย่างนั้นตั้งอยู่เลย เขาจึงไม่เข้าใจความหมายของความเบื่อ
หน่ายการฝึกสมาธิก็เพื่อนำไปใช้กับการแก้ปัญหาในการงานทุก
ชนิด จงหยุดคิด แล้วจึงพิจารณาหาเหตุผลในงานที่ท่านทำอยู่
และปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ ถ้าจิตของท่านสงบได้ด้วยสมาธิิ
ในขณะที่หยุดคิดนั้น ท่านจะเกิดความเข้าใจอันแจ่มชัดในการ
แก้ปัญหานั้นๆ นั่นคือสิ่งที่ท่านจะต้องทดลองฝึกทำดู จงฝึก
บ่อยๆ ทุกๆวัน แล้วจิตท่านจะมีความสุขสบายกว่าเดิมเยอะเลย
หลายคนชอบอ่านพระสูตร ตำรา คำสอน มากมาย แต่ใจมัน
ไม่เป็นไปตามสภาพธรรมเหล่านั้น


จิตว่างเข้าใจ แต่ใจมันไม่ว่างจริงๆ..ไม่ยึดมั่นถือมั่น เข้าใจดี
แต่จิตมันก็ยังยึดมั่นถือมั่นอยู่ตามปกติ..มองโลกให้เป็นของว่าง
ถูกต้องทีเดียว แต่โลกและใจเรามันก็ไม่ว่างสักที ทำจิตให้เข้า
ถึงปฐมฌาน มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคคตา
สงบสงัดปราศจากอารมณ์รบกวน แต่ส่วนมากนั่งแล้วง่วงทุกที..



เพราะการฝึกจริงๆ มันไม่ง่ายนัก เราจะต้องตั้งใจจริง เข้มแข็ง
อดทน แม้จะมีอุปสรรคมาขวางกั้นก็ต้องสู้ฝ่าฟันไม่ท้อถอย
จึงจะได้รับผลสำเร็จ.


หยุดจิต เพื่อปลดปล่อย


ในการทำสมาธิเพื่อกำหนดจิตใจให้สงบระงับจากอารมณ์
ทั้งหลาย ท่านจงเข้าไปสู่ที่สงัดตามธรรมชาติ ชำระกาย
ให้สะอาด นั่งหลับตาหยุดความคิดทั้งปวง ถ้ามัน
(กิเลสความฟุ้งซ่าน) ไม่หยุด ท่านก็จงหยุดที่จะเข้าไป
คิดร่วมกับมัน มันจะคิดอะไรก็ช่างหัวมัน ท่านมีหน้าที่ดู
มันเฉยๆ อย่าไปยุ่งกับมัน ให้ปล่อยมันไป เมื่อมันหมด
กำลังลง เพราะเราไม่ได้ไปเติมเชื้อไฟให้มัน มันก็จะหยุด
ลง เสื่อมสลายไป ไม่มีอะไร โดยที่ท่านไม่ต้องไปเพลิด
เพลินยินดียินร้ายไปกับมัน ด้วยวิธีการนี้ท่านจะทำจิตให
สงบได้ทุกที แม้ตอนที่มันไม่สงบก็ตาม จงฝึกให้มาก
ทำให้มาก แล้วท่านจะสงบได้ด้วยความสามารถของท่าน
เอง ต่อจากนั้นเมื่อจิตสงบแล้ว

ท่านจงพิจารณาให้เห็นว่า โลกนี้มันน่าเบื่อ แต่ถ้าท่านยัง
ไม่เบื่อ ก็ลองถามตัวเองอยู่บ่อยๆ สักวันหนึ่งท่านจะรู้ว่า
ทั้งความเบื่อกับความไม่เบื่อ มันน่าเบื่อทั้งคู่เลย
เพราะมัน
ทำให้คุณวุ่นวาย ถ้ามีใครแย้งว่า ถ้าคนเบื่อโลกกันหมด
โลกคงไม่เจริญ เพราะไม่มีใครพัฒนาโลก ก็จงปล่อยให้
เขาพัฒนาโลกไปคนเดียว ดูซิว่าเขาจะไปถึงไหน ก็มัวแต่
ไปพัฒนาความเจริญทางวัตถุ ตึกรามบ้านช่องใหญ่โต
แต่ปัญญาที่จะดับทุกข์กลับเล็กเรียวลง มันไปติด รูป รส
กลิ่น เสียง สัมผัส จิตใจเลยตกต่ำวุ่นวาย มีแต่เรื่องไม่รู้จบ
แต่ถ้าท่านหันมาพัฒนาจิตใจ ให้มั่นคงสงบไร้ทุกข์ได้ เมื่อ
นั้นชีวิตท่านจะได้รับความสุขสงบ ยิ่งกว่ามีบ้านใหญ่โต มี
รถเก๋งคันงาม มีเงินมากมาย ฯลฯ มันเป็นแค่เปลือกห่อหุ้ม
ชีวิตเรา ไม่ใช่แก่นแท้สาระสำคัญที่แท้จริง.



ที่มา : Forward Mail



No comments: