เชื่อหรือไม่? เพิ่มศักยภาพให้คอมพ์ได้ง่าย ๆ ผ่าน Jumper Dip Switch
สะพานไฟแห่งชีวิตคอมพ์ของคุณ สิ่งที่หลายคนกลัวนักหนากำลังจะถูกเปิดเผย
ความจริง...
วันเวลาผ่านไปเทคโนโลยีก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ ทุกวันนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่า
คอมพิวเตอร์มีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก หลายคนเลือก
ที่ซื้ออุปกรณ์ คอมพิวเตอร์มาประกอบเอง หรือให้ทางร้านประกอบให้ แทนที่
จะซื้อจากบริษัทขายคอมพิวเตอร์ Brandname ปัญหาที่ตามมาคือเราจะ
ประกอบอุปกรณ์แต่ละชิ้นเข้าไป ได้อย่างไร? หรือในกรณีที่ร้านค้าประกอบ
ให้เรา เคยคิดบ้างไหมว่าร้านค้านั้นประกอบให้เราถูกต้องหรือเปล่า ? ประกอบ
เครื่องคอมพิวเตอร์ให้เราแล้วสามารถดึง ประสิทธิภาพออกมาเต็มที่หรือเปล่า ?
บ่อยครั้งที่ผมเองก็พบว่าช่างที่ร้านติดตั้งตัว Jumper บนเมนบอร์ดผิด สับ
Dip Switch ผิด อันจะเกิดจากช่างไม่มีประสบการณ์ หรือหลงลืมไปชั่วขณะ
ก็ไม่อาจทราบได้ แต่สุดท้ายก็ผิดไปแล้ว
Jumper & Dip Switch อุปกรณ์น่าสะพรึงกลัว
ผมเชื่อได้เลยว่าเพื่อน ๆ หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า Jumper, Dip Switch
มาบ้างแล้ว แต่อาจจะยังไม่เข้าใจว่า เซ็ตอย่างไร หรืออาจจะไม่กล้าไปยุ่ง
กับมัน อันที่จริงสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวเลย และจำเป็นมาก ๆ ที่เราจะ
ต้องรู้ไว้บ้าง พวก Jumper, Dip Switch ต่าง ๆ เหล่านี้จริง ๆ มีหน้าที่สำหรับ
กำหนดการทำงาน ของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้ทำหน้าที่ต่างกันออกไป จะเห็น
ตัวอย่างหน้าที่ชัดเจนก็บน เมนบอร์ดรุ่นหนึ่งเราสามารถเลือกได้ว่าจะให้มี FSB
(Font Side Bus) ความเร็วเท่าไร 66,100,133 MHz จะให้ตัวคูณ (Multiple)
ของ CPU เท่าไร ? เพื่อให้เมนบอร์ด รุ่นนั้น ๆ สามารถรองรับการทำงานของ
CPU ได้มากที่สุด แล้วก็เป็นหน้าที่ของช่าง หรือเราเองที่จะต้องมานั่งเซ็ตให้
ตรงกัน นี่เป็นเพียงตัวอย่างเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น ในวันนี้เราจะมาคุยกันเรื่องที่
เกี่ยวกับพวก Jumper ต่าง ๆ ที่อยู่บน เมนบอร์ด, Hard Drive , CD-ROM Drive
กันว่าสามารถเซ็ตอะไรได้บ้าง
Jumper บน เมนบอร์ด
เมนบอร์ดถือว่าเป็นส่วนที่มี Jumper ให้เซ็ตติดตั้งอยู่มากพอสมควร
เมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ พยายามจะลดความยุ่งยากในส่วนนี้จึงพยายาม
ทำเทคโนโลยีที่เรียกว่า "Jumper Less" คือมี Jumper ให้น้อยที่สุด
หรือ ไม่มีเลย แล้วย้ายการเซ็ตค่าต่าง ๆ ไปเป็นส่วน Software หรือ
บน Bios ที่เรียกว่า "Soft Menu" เพื่อให้ผู้ใช้งานยังคงสามารถปรับ
แต่งค่าต่าง ๆ ได้ จากเดิมที่รูปร่างหน้าตาของ Jumper เป็นขาทองแดง
แล้วใช้พลาสติกเล็ก ๆ ซึ่งข้างในมีแผ่นโลหะเป็นตัวเชื่อม เมนบอร์ด
บางรุ่นก็เปลี่ยนมาเป็น Dip Switch ที่ปรับแต่งได้ง่ายกว่า สะดวกกว่า
และดูไม่น่ากลัวแทน วิธีการเซ็ต Jumper ส่วนใหญ่จะเป็นการเชื่อม
ขาทองแดงเข้าด้วยกัน ซึ่งต้องอาศัยตัวเชื่อมที่เป็นลักษณะพลาสติก
ตัวเล็ก ๆ ที่ข้างในจะเป็นทองแดง เป็นสื่อให้ขาทองแดงทั้งสองเชื่อม
ถึงกัน และพลาสติกรอบข้างทำหน้าที่เป็น ชนวนป้องกันไม่ให้ทองแดง
ไปโดนขาอื่น ๆ
ส่วนวิธีการเซ็ต Dip Switch ก็ง่าย ๆ ให้เรานึกถึง Switch ไฟธรรมดา
ที่มีการปิดและเปิด ซึ่งจริง ๆ แล้วทั้ง Jumper และ Dip Switch นั้นต่างมี
จุดมุ่งหมายเหมือนกันตรงที่ทำงานเปรียบเสมือน Switch ธรรมดา มีสภาวะ
เปิดและปิด (Open and Close) เพื่อให้การเชื่อมและตัดวงจรนั้นเป็นตัว
บอกให้เมนบอร์ด รู้ว่าเราต้องการให้ทำงานอย่างไร
ตัวอย่าง Dip Switch บนเมนบอร์ด
อันที่จริงแล้วเวลาเราจะเช็ท Jumper หรือ Dip Switch เราจำเป็นต้อง
อ่านคู่มือเมนบอร์ดให้ดี ๆ ก่อน เพื่อที่จะได้รู้ว่าเรากำลังจะเซ็ตอะไร เซ็ตตรงไหน
อย่างไร และได้ค่าอะไรนะครับ ภาพด้านข้างนี้ เป็นตัวอย่าง Layout ของเมน
บอร์ดของ Soltek SL-75JV บนเมนบอร์ดที่สำคัญ ๆ หลัก ๆ ที่เราต้องเซ็ตก็คือ
เรื่องของ FSB (Font Side Bus) และ Multiple ของ CPU เพื่อให้เมนบอร์ดทำ
งานสอดคล้องกับ CPU ที่เรานำมาติดตั้ง จากตัวอย่างทั้งสองส่วนนี้เป็นการเซ็ต
แบบ DIP Switch ซึ่ง SW1 เป็นการเซ็ต FSB (Font Side Bus) และ SW2
เป็นการเซ็ต Multiple (ตัวคูณ) ตามคู่มือเมนบอร์ดเป็นดังตารางที่ 1 และ 2
เมนบอร์ดที่นำมาเป็นตัวอย่างนี้รองรับการทำงาน CPU ตระกูล AMD เพราะฉะนั้น
หากผมต้องการนำเอา CPU Athlon Thunderbird ความเร็ว 850 MHz มาติดตั้ง
บนเมนบอร์ดรุ่นนี้ผมต้องเซ็ต SW1 CPU Clock = 100 MHz ซึ่งต้องปรับ
DIP 1-5 บน SW1 เป็น Off On Off Off On ตามลำดับ ส่วน SW2 ต้องเลือก
Multiple 8.5x เพราะฉะนั้นต้องเซ็ต DIP 1-4 บน SW2 เป็น Off Off On Off
มีการเซ็ต Jumper หนึ่ง ที่เราน่าจะรู้ไว้ว่าอยู่ตรงส่วนไหนของเมนบอร์ด
คือ การ Clear CMOS Data เอาไว้เวลาที่เรา Update CMOS Version ใหม่ ๆ
หรือว่าหากเกิดปัญหาจากการที่เราเข้าไป Set ค่าต่าง ๆ ใน BIOS แล้วทำให้
BOOT ไม่ได้ เราจะได้ใช้ Jumper Clear CMOS DATA ทำการ Clear ค่าต่าง ๆ
ใน BIOS ให้กลับไปอยู่ในสภาวะเริ่มต้นเหมือนค่าที่ถูกเซ็ตจากโรงงานนะครับ
สำหรับเมนบอร์ดรุ่นนี้ตัว Jumper นี้จะอยู่ที่ JBAT1 ดังรูป
สภาวะปกติตัว Jumper จะเชื่อมอยู่ที่ขา 1-2 หากเราต้องการ Clear
CMOS Data เราต้องย้าย Jumper มาที่ 2-3 แต่อย่าลืมนะครับว่าต้องทำการย้าย
Jumper ขณะปิดเครื่อง และตามคู่มือบอกว่าแค่เราย้ายมาก็จะ Clear CMOS
แล้วไม่ต้องเปิดเครื่อง จากนั้นทำการย้ายกลับไปยัง 1-2 แล้วทำงานตามปกติ
Jumper บน Hard Drive และ CD-Rom Drive
หน้าที่หลัก ๆ ของ Jumper ใน Hard drive และ CD-Rom Drive
ก็คือการเซ็ตว่า Drive นั้นเป็น Master หรือ Slave หลาย ๆ คนอาจจะเริ่ม
งงว่าอะไร Master อะไร Slave จะขออธิบายคร่าว ๆ ดังนี้นะครับว่าปัจจุบัน
Drive จำพวก Hard Drive และ CD-Rom Drive นั้นจะมีมาตรฐานการต่อแบบ
IDE ซึ่งบนเมนบอร์ดส่วนใหญ่จะมีช่องต่อ IDE สองช่องซึ่งเรียกว่า Primary
และ Secondary แต่ละช่องก็จะต่อ Drive ได้ 2 Drive นั้นหมายความว่าเครื่อง
โดยทั่วไปจะสามารถใส่ Hard drive และ CD-Rom Drive รวมกัน 4 ตัว
เนื่องจาก 1 ช่อง IDE สามารถต่ออุปกรณ์ได้ 2 ตัวนี้แหละครับที่ทำให้เราต้อง
มานั่งเซ็ตว่าจะให้ตัวไหนเป็น Master ตัวไหนเป็น Slave แต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อก็
กำหนดต่างกันออกไป แต่อย่างไรก็ตามเราก็ยังสามารถ ใช้พื้นฐานความรู้ใน
การเซ็ตเดียวกันได้ สำหรับฮาร์ดดิสก์และไดรฟ์ CD-Rom นั้น ผู้ผลิตมักจะระบุ
การเซ็ตค่ามาให้ บนตัวมันเอง ใกล้ ๆ กับจุดที่เซ็ตอยู่แล้ว และการดูก็ไม่ยาก
เท่าไหร่ เพียงแต่ท่านต้อง เข้าใจคำว่า Master กับ Slave เท่านั้น ส่วนค่าอื่น ๆ
ที่เห็น เช่น Cable Select นั้น จะเป็นการใช้งานแบบพิเศษกับ สายเคเบิ้ล จะ
เกิดอะไรหากเราเซ็ตไม่ถูกต้อง หรือเซ็ตอุปกรณ์ 2 ตัวมาชนกันเอง คำตอบคือ
อุปกรณ์ไม่ถึงกับเสียหายหรอกครับ แค่เครื่องของเราก็จะมองไม่เห็นว่า เราได้
ติดตั้งตัว Drive นั้นไปแล้วเท่านั้นเอง พอเราเซ็ตใหม่ให้ถูกต้องทุกอย่างก็จะ
กลับมาเป็นเหมือนเดิมครับ ไม่ต้องกลัวกับการเซ็ต Jumper พวกนี้นะครับ
สรุป
เรื่องราวของ Jumper ที่จริงก็คือ ส่วนที่ช่วยให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ทำงานได้
หลากหลายหน้าที่ ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ในเมนบอร์ดส่วนใหญ่จะเป็น
การเซ็ตว่าขณะนี้ต้องการนำเอา CPU อะไรมาติดตั้ง จะให้ Disable/Enable
ความสามารถต่าง ๆ ในเมนบอร์ดไม่ว่าจะเป็น Sound On Board, Vga On Board
หรือจะเป็นการ Clear CMOS Data ส่วนใน Drive ชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Hard
drive , CD-ROM Drive จะเป็นการกำหนดบทบาทหน้าที่ ส่วนในอุปกรณ์อื่น ๆ นั้น
เราอาจจะเห็นการเซ็ต Jumper ได้ใน Card Interface บางประเภท ทั้งนี้ทั้งนั้นการ
เซ็ตค่าต่าง ๆ ต้องอาศัยคู่มือประกอบ เพราะว่าแต่ละอุปกรณ์ แต่ละโรงงานก็จะออก
แบบมาไม่เหมือนกัน เซ็ตผิดพลาดก็อาจจะทำให้อุปกรณ์นั้นใช้งานไม่ได้ แต่โดย
ส่วนตัวแล้วคิดว่าไม่น่าจะทำให้ถึงกับเสียหายอะไร เพราะทางโรงงานผู้ผลิตต้องเผื่อ
เหตุการณ์นี้ไว้อยู่แล้ว ขอให้เซ็ตให้ถูกต้องอุปกรณ์ก็น่าจะใช้งานได้ ดังนั้น ไม่ต้อง
กลัวนะครับของอย่างนี้ ถ้าเราอ่านคู่มือเข้าใจดีแล้วก็ลุยเลยครับ
No comments:
Post a Comment