การตากผ้าสมัยโบราณจะทำราวตากผ้าไว้กลางแสงแดด ผ้าที่ตากจะแห้งเร็ว คนสมัยโบราณเชื่อว่า หากปล่อยผ้าที่ตากท้งไว้นอกชายคาเรือนหลังพระอาทิตย์ตกดิน เชื่อว่า ผีจะใช้ผ้าผืนนั้นเช็ดเลือกจากปากหลังจากที่ได้กินเลือดสัตว์เลือดคนมาแล้ว
ซึ่งจะทำให้คนในครอบครัวได้รับเพทภัยได้ ดังนั้นก่อนพระอาทิตย์ตกดิน คนสมัยก่อนจะรีบเก็บผ้าเข้ามาไว้ในเรือนก่อนถ้าผ้าซิ่นใดยังไม่แห้งจึงค่อยนำมาตากใหม่ในวันรุ่งขึ้น อุบายโบราณนั้น หลายครั้งเรานึกดูถูกอยู่ในใจว่าเก่าแก่เหลือเกิน แต่ถ้าใช้ปัญญาในทางกว้างและมองลึกซึ่งลงไปมักพบมีภูมิปัญญาชาวบ้านที่อธิบายได้ด้วยหลักวิทยาศาสตร์ซ่อนเร้นอยู่ทั้งสิ้น รวมทั้งอุบายที่ห้ามขาดมาแต่ครั้งโบราณว่า จงอย่าตากผ้าข้ามคืนหรือในเวลากลางคืน
เหตุผลที่๑
คือการป้องกันไม่ให้ผ้าเปื่อย ผ้าสมัยก่อนเป็นผ้าทอมาจากฝ้ายเกือบทั้งนั้น ตกกลางคืนเมื่อสัมผัสกับน้ำค้างที่มีความเค็มสูง ผ้าจะเปื่อยเร็วกว่าปกติ
เหตุผลที่๒
คือเมื่อเราตากผ้าไว้ในราว ลมจะพัดจนผ้าพลิ้วปลิวไปมา สัตว์เลี้ยงของเราโดยเฉพาะหมาก็กระโดดกัดเอาผ้าลงมาเล่น จนผ้าขาดเสียหาย
เหตุผลที่ ๓
คือราวตากผ้ามักจะหลบอยู่หลังบ้านหรือในซอกในหลืบ ในเวลามืดค่ำก็เสี่ยงต่องูเงี้ยวเขี้ยวขอที่ไปแอบซ่อนตัวอยู่ ก็เลยห้ามรวมเสียเลยว่าห้ามตากผ้าข้ามคืนหรือกลางคืน
ที่มา วิทยาศาสตร์รอบตัว(จาก สสวท.)
No comments:
Post a Comment