ไม่ ว่าจะสงวนไว้ในพื้นที่ส่วนตัวอย่างไร เรื่อง ใน "ร่มผ้า" ก็มีการนำเสนออย่างโจ๋งครึ่มใน สื่อต่างๆ เหตุผลหนึ่ง อาจเป็นเพราะคนส่วน ใหญ่ "ไม่มีความรู้ความเข้าใจ" ในเรื่องเพศ อย่างถูกต้อง
เมื่อไม่รู้ก็ต้องถาม ถาม และถาม...
จากรายงานการวิจัยเรื่อง "คำถามยอดฮิต ใน คอลัมน์ถามตอบเรื่องเพศ" ศึกษาย้อนหลัง 5 ปี ตั้งแต่ปี 2546-2550 ในสื่อ 3 ประเภท หนังสือ พิมพ์ นิตยสาร และอินเตอร์เน็ต จำนวน 6 สื่อ รวบรวมคำถามได้ทั้งหมด 4,409 ข้อ คำถามที่ พบมากที่สุดคือ เพศสัมพันธ์ ร้อยละ 25 อนามัยเจริญพันธุ์ ร้อยละ 18 อวัยวะเพศ หญิง ร้อยละ 18 ความสวยความงาม ร้อยละ 16 และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ร้อยละ 5
น.ส.ญาณาธร เจียรรัตนกุล ผู้วิจัย บอกว่า หลักฐานการสอบถามปัญหาเพศผ่านสื่อเริ่ม ในปี 2431 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งตลอด 120 ปีที่ ผ่านมา
แนว คำถามจะวนเวียนอยู่ในปัญหาเดิมๆ สะท้อน ว่า ประชาชนไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศที่ ถูกต้อง และจากการวิจัยพบว่า ผู้หญิงเข้ามาสื่อ สารในคอลัมน์ถามตอบเรื่องเพศ "มากกว่า" ผู้ชายถึงร้อยละ 69 ในขณะที่ผู้ชายเข้ามาสื่อสาร ร้อยละ 31
"ผู้หญิงยังมีความรู้น้อยมาก ยกตัวอย่างคำถาม เรื่องคุมกำเนิด วัยรุ่นผู้หญิงคนหนึ่งเขียนจดหมาย เข้ามาถามว่า หากมีเพศสัมพันธ์กับแฟน แล้วให้ แฟนกินยาคุม จะท้องไหม เป็นคำถามที่บ่งบอกว่า เธอไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้เลย" ญาณาธรแจกแจง
เหตุผลที่เป็นเช่นนี้ ผู้วิจัยบอกว่า มาจากระบบ ความเชื่อผิดๆ ของสังคมไทย ที่ตั้งบรรทัดฐานไว้ ว่า ผู้หญิง ที่พูดเรื่องเพศได้ ต้องแต่งงานแล้ว หรือเป็นผู้หญิงขายบริการเท่านั้น จึงยังเป็น ปัญหาให้ผู้หญิงไม่กล้าสอบถามจากแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญโดยตรง เพราะรู้สึกกระดากปาก และอายที่จะแสดงตัวตน จึงต้องแอบซ่อนหาความ รู้ผ่านสื่อต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร และ อินเตอร์เน็ต
|
|
|
มาดูกันดีกว่า "คนอยากรู้อะไรในเรื่องอย่าง ว่า" บ้าง
เริ่มที่ "ผู้หญิง" เรื่องที่อยากรู้มากที่สุด "อวัยวะเพศ หญิง" มักถามข้อข้องใจเรื่อง ประจำเดือน (34%) ตกขาว (20%) มะเร็ง-พังผืด-ซีสต์-เนื้องอก-ฮอร์โมน (16%) รองลงมาคือ "อนามัยเจริญพันธุ์" ถามมาก ที่สุด คือ วิธีการคุมกำเนิด (43%) การตั้งครรภ์-การ คลอด (25%) และภาวะมีบุตรยาก (19%)
อีกหัวข้อคำถามที่ผู้หญิงสนใจ เป็นเรื่อง "สังคมและ วัฒนธรรม" จะถามเรื่อง ความเหมาะสม/ดอกฟ้ากับ หมาวัด (24%) การมีคู่มากกว่า 1 คน (21%) พรหมจรรย์ (15%) และเขารักเราไหม (15%) อีก ประเด็นเป็นคำถาม "ความรุนแรง" มีทั้งข่มขืน (62%) เพศพาณิชย์ (23%) และการใช้กำลังทำร้าย ร่างกาย (15%) ปิดท้าย "ความสวยความงาม" คำ ถามส่วนใหญ่มีทั้งเรื่องอ้วน/ผอม (50%) ไม่พอใจ ในรูปร่าง (24%) และสิว/ฝ้า/หน้ามัน (11%)
สำหรับ "ผู้ชาย" คำถามยอดฮิตคือ "อวัยวะ เพศชาย"
เรื่องที่พวกเขาอยากรู้ที่สุด คือ เรื่องของขนาด ใหญ่หรือเล็ก / การฝังมุก (38%) การขริบ (33%) และรูปร่าง (19%) นอกจากนี้ยังถามเรื่อง "การ ช่วยตัวเอง" โดยส่วนใหญ่จะถามเรื่องผลกระทบ, วิธีการ และปริมาณที่เหมาะสม
ส่วนข้อสงสัยที่ทั้ง "ผู้หญิง-ผู้ชาย" ข้องใจ เหมือนกัน อันดับแรกคือ "เพศสัมพันธ์" โดย ผู้ชายจะให้ความสำคัญกับเรื่องสมรรถภาพเป็น หลัก (43%) ในขณะที่ผู้หญิงเน้นเรื่องผลข้างเคียง จากการมีเพศสัมพันธ์ (22%) อันดับต่อมาคือ "โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์" มักอยากรู้ โรคติด ต่อทางเพศสัมพันธ์ (52%) และโรคเอดส์ (48%)
ปิด ท้าย เป็นคำถามจากกลุ่มเพศที่ 3 ประเด็น "อัตลักษณ์ทางเพศ" (ความหลากหลายทาง เพศ) ส่วนใหญ่จะเป็นคำถามเกี่ยวกับกลุ่ม ชายรักชาย (52%) หญิงรักหญิง (32%) และรักสองเพศ (13%)
ข้อสงสัย "เยอะ" ขนาดนี้ ยิ่งตอกย้ำว่า เรื่องเพศ ไม่ใช่แค่เรื่องเพศสัมพันธ์อย่างเดียว
ญาณาธรบอกว่า สังคมไทยอาจคิดว่าสื่อไขปัญหา เพศเป็นเรื่องไม่งาม แต่ถ้ามองในมุมกลับ ในสังคม ที่ยังไม่เปิดกว้างเรื่องนี้ และไม่มีข้อมูลความรู้ให้ ประชาชนศึกษาอย่างเพียงพอ สื่อประเภทนี้มี ประโยชน์ เพราะเป็นช่องทางระบายให้กับผู้ที่มี ปัญหา และไม่สะดวกใจจะถามแพทย์หรือผู้เชี่ยว ชาญโดยตรง
" อยากให้สังคมไทยเปลี่ยนทัศนคติเรื่องเพศใหม่ เปิดกว้างมากขึ้น ขีดเส้นแบ่งระหว่างลามกอนาจาร กับสุขภาพ เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่แค่เพศสัมพันธ์ แต่ เป็นเรื่องสุขภาพทั้งหมดของมนุษย์" ญาณาธรย้ำ
|
|
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์มติชน
|
No comments:
Post a Comment